วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

ส่งบทคัดย่อภาษาไทย


1. ชื่อเรื่อง  ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู
ชื่อผู้แต่ง  อรพรรณ เทียนคันฉัตร
บทคัดย่อ  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 48 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .30 ถึง .73 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .35 ถึง .83 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ที่มา  : http://www.etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=258&group=20

2. ชื่อเรื่อง  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู
ชื่อผู้แต่ง  เชษินีร์ แสวงสุข
บทคัดย่อ  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของครู ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของครู และสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 326 ที่คัดเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นของการสุ่ม ด้วยวิธีการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดย ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จากประชากรจำนวน 1,472 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 ตอนที่ 2 เป็นแบบวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู จำนวน 25 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
3. ชื่อเรื่อง  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อผู้แต่ง  ยุวดี แก้วสอน
บทคัดย่อ  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) สมการพยากรณ์แสดงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มา  : http://www.etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=158&group=20

4.ชื่อเรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

ชื่อผู้แต่ง  สายพิณ   ภูมิประโคน
บทคัดย่อ  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 148 คน และครู จำนวน 335 คน ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้นำ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสูงสุดคือ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมาคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับต่ำสุด คือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา 2) ผู้บริหารโรงเรียนจัดการความขัดแย้ง โดยรวมด้านการยอมเสียประโยชน์ ด้านการร่วมแรงร่วมใจและด้านการประนีประนอมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการแข่งขันและด้านการหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสูงสุดคือ ด้านการยอมเสียประโยชน์และการร่วมแรงร่วมใจ รองลงมาคือ ด้านการประนีประนอม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับต่ำสุด คือ ด้านการหลีกเลี่ยง และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างต่ำกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความขัดแย้ง ผู้บริหารโรงเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้ง
ที่มา  : https://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4356
5. ชื่อเรื่อง  การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก
ชื่อผู้แต่ง  ดร.พูนภัทรา  พูลผล
บทคัดย่อ  การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก แนวคิดในการวิจัยประกอบด้วย แนวคิดการบริหารงานวิชาการ 5 ด้านคือ 1) หลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การนิเทศการสอน 4) การวัดและประเมินผล และ 5) การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา แนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) แนวคิดกระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการจากเอกสารด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ของสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2553 จำนวน 500 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ตรวจสอบและประเมินรูปแบบด้านความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้กับโรงเรียนในต่างประเทศที่มีการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก นำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ได้จริง
ที่มา  : http://www.thaiedresearch.org/index.php/home/paperview/73/?topicid=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น